ประวัติความเป็นมา


ลักษณะองค์กร (Organizational Description)

                 วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2549 มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตั้งอยู่เลขที่ 140 หมู่ที่ 4 ชั้น 3  อาคาร 50 มหาวิทยาลัยทักษิณ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และศูนย์บริการวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง เลขที่ 128/157 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท  เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 เป็นองค์กรที่เทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทักษิณ บริหารโดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ของวิทยาลัยเองทั้งหมด

ปรัชญา
          “การจัดการเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม”

วิสัยทัศน์
          เป็นองค์กรต้นแบบของภาคใต้ในการบริหารแบบพึ่งพาตนเองเพื่อการพัฒนาคน งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมสังคม ในปี 2568

พันธกิจ
        - ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน 
        - ผลิตงานวิจัยด้านการบริหารงานยุติธรรมและด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาที่ตอบโจทย์ชุมชน 
        - บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและพัฒนานวัตกรรม ด้านการจัดการบนฐานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้ 
        - พัฒนาองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารองค์กรในรูปแบบการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

ค่านิยม (Values)
        T = Teamwork (ทำงานเป็นทีม) 
        E = Excellence in Teaching (เป็นเลิศด้านการสอน) 
        A = Academic for Community (วิชาการเพื่อการชุมชน) 
        M = Management for Development (การจัดการเพื่อการพัฒนา)

สมรรถนะหลัก (Core competencies)
       1. การบริหารงานภายใต้กระบวนการทำงานเป็นทีม (Teamwork)และความ ร่วมมือ (collaborator) 
        2. การพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นพลเมืองและธรรมาภิบาล 
        3. การถ่ายทอดความรู้การบริการและวิจัยสู่ชุมชน

วัฒนธรรมองค์กร UMDC Culture 
        U = Unity ความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 
        M = Merit การช่วยเหลือเกื้ อกูลกัน 
        D = Democracy ความเสมอภาคและยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
        C = Change พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลง

ประเด็นเป้าหมาย
           เป้าหมายที่ 1 ผลักดันการดำเนินงานตามแผนของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
           เป้าหมายที่ 2 บริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
           เป้าหมายที่ 3 บริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ
           เป้าหมายที่ 4 บริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดหลัก/ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
            UMDC 01 รายได้จากการดำเนินการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 
            UMDC 02 ระดับความสุขของบุคลากรในองค์กร (5 ระดับ) 4.25
            UMDC 03 จำนวนผู้รับบริการด้านการศึกษาทั้งหลักสูตรให้ปริญญาและหลักสูตรระยะสั้น และการให้บริการวิชาการด้านการฝึกอบรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 
            UMDC 04 จำนวนของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม และได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ หรือนานาชาติ ต่อบุคลกรสายวิชาการ ร้อยละ 140
            UMDC 05 จำนวนผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนิสิตได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ ร้อยละ 15
            UMDC 06 จำนวนผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในสังคม ชุมชน หรือเชิงพาณิชย์ ร้อยละ 100 ของผลงาน
            UMDC 07 จำนวนหลักสูตรผู้รับบริการด้านการศึกษาทั้งหลักสูตรให้ปริญญาและหลักสูตรระยะสั้น และการให้บริการวิชาการด้านการฝึกอบรม จำนวน 2 หลักสูตร
            UMDC 08 ผลการประเมินคุณธรรมจริยธรรมและความโปร่งใส (ITA) ร้อยละ 92.25
            UMDC 09 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ 200 คะแนน
            UMDC 10 ระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านการศึกษาทั้งหลักสูตรให้ปริญญาและหลักสูตรระยะสั้น และการให้บริการวิชาการด้านการฝึกอบรม (5 ระดับ) 4.50)

ยุทธศาสตร์
          วิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนา ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนกำลังคนให้มีความรู้และทักษะการพัฒนาและ สร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน 
            ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมสังคมภาคใต้ 
            ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและร่วมมือการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมภาคใต้ 
            ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและสร้างความมั่นคงด้านฐานะทางการเงิน ด้วยการหารายได้และการบริหารต้นทุน


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น
ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล