สรุปและประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและเรียนรู้จากสถานประกอบการจริง

สรุปและประเมินผล
โครงการงบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและเรียนรู้จากสถานประกอบการจริง
กิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 7 มกราคม 2566
ณ คุ้มไทรงาม โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท และ Cocoro-Cake
เค้กจำปาดะขนุนเกาะยอ ของฝากจากสงขลา

ตอนที่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล
              1.1 ชื่ออาจารย์เสรี บุญรัตน์ และ อาจารย์อรอนงค์ อำภา
              1.2 ตำแหน่ง อาจารย์
              1.3 สังกัดส่วนงาน วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา (TSU-MDC)

ตอนที่ 2  ผลการดำเนินโครงการ
              2.1  วัน เวลา และสถานที่ดำเนินโครงการ
              กิจกรรมที่ 1 วันที่ 7 มกราคม 2566 ณ คุ้มไทรงาม โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท และ Cocoro-Cake เค้กจำปาดะขนุนเกาะยอ ของฝากจากสงขลา

2.2  ผู้เข้าร่วมโครงการ
              คณาจารย์ บุคลากรและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ                                         จำนวน  8  คน
              นิสิตหลักสูตรการจัดการบัณฑิต ชั้นปีที่ 1                                              จำนวน  92  คน

2.3  ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการครั้งนี้
              2.3.1  ผลที่นิสิตได้รับ

สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ PLO

- PLO1 มีความรู้ความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีและทักษะด้านการจัดการได้อย่างถ่องแท้ ความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ความรู้ได้อย่างเป็นระบบ

    Sub PLO 1A มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีด้านการจัดการ

    Sub PLO 1B มีทักษะด้านการจัดการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา คิด วิเคราะห์ความรู้อย่างเป็นระบบ

- PLO 2 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางการจัดการเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

    Sub PLO 2A ประยุกต์องค์ความรู้ทางการจัดการเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม

    Sub PLO 2B บูรณาการองค์ความรู้การจัดการกับการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ตรงต่อหน้าที่ และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

- PLO 3 สามารถทำงานเป็นทีม มีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน มีกรอบแนวคิดด้านการประกอบการและเป็นผู้นำด้านการจัดการนวัตกรรมสังคม

    Sub PLO 3A แสดงออกถึงภาวะผู้นำด้านการจัดการนวัตกรรมสังคม

    Sub PLO 3B สามารถทำงานเป็นทีม และมีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

- PLO 4 มีทักษะการสื่อสารและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเหมาะสม

    Sub PLO 4A ประยุกต์ทักษะในการสื่อสารได้อย่างชัดเจนเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย

    Sub PLO 4B เท่าทันสารสนเทศ เท่าทันสื่อ เท่าทันเทคโนโลยี และประยุกต์การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม

- PLO 5 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้และทักษะปฏิบัติงานใหม่เพื่อการบูรณาการและเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    Sub PLO 5A สืบค้น บูรณาการ และเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง

    Sub PLO 5B พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองสามารถยืดหยุ่นและปรับตัวได้อย่างดี มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการปฏิบัติงานใหม่

และสอดคล้องกับตัวชี้วัด AUN-QA  ข้อที่ 3 แนวทางการจัดเรียนการสอน (Teaching and Learning Approach) ข้อที่ 4 การประเมินผู้เรียน (Student Assessment) ข้อที่ 6 (Student Support Service)

                2.3.2   ผลที่วิทยาลัยได้รับ
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ ที่ยุทธศาสตร์ที่ ส่งเสริมและสนับสนุนกำลังคนให้มีความรู้และทักษะการพัฒนาและ สร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สิ่งที่วิทยาลัยฯได้รับนั้นเป็นการบูรณาการด้านกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ที่เน้นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามบัณฑิตที่พึงประสงค์ของตลาดแรงงานในปัจจุบัน เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ระหว่างผู้ประกอบการจริง คณาจารย์กับนิสิตหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ เสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจสมัยใหม่ได้อย่างมีระบบ ตลอดจนการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการศึกษาในสถานประกอบการจริงที่เป็นเครือข่ายด้านการศึกษา
การผลิตบัณฑิต : มุ่งให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักและบูรณาการด้านกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ในรูปแบบ Work- Integrated Learning (WiL) เรียนรู้จริงในสถานประกอบการ

              2.3.3 ผลที่มหาวิทยาลัยได้รับ
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ / ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมสังคมภาคใต้
การผลิตบัณฑิต : มุ่งให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักและบูรณาการด้านกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ในรูปแบบ Work- Integrated Learning (WiL) เรียนรู้จริงในสถานประกอบการ

 ตอนที่ การประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการ

                 3.1 วัตถุประสงค์                                                                                                     
o  บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกประการ
1. เพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนิสิต
2. เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานประกอบการจริง
3. เพื่อเสริมสร้างให้นิสิตกล้าคิด กล้าลอง กล้าแสดงออก และลงมือปฏิบัติงานจริงก่อนเข้าสู่สถานประกอบการ
4. เพื่อส่งเสริมทักษะวิชาชีพและสมรรถนะให้กับนิสิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน 
o   ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  เพราะ………………………………………………………………..

                     3.2 เป้าหมาย.......................................

ตอนที่ ข้อคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลโครงการ (โปรดระบุ)
4.1  ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินโครงการปีต่อไป
- ควรมีการกิจกรรมแบบนี้เพื่อพัฒนาทักษะด้านวิชาการให้กับนิสิตทุกชั้นปี
- ควรมีการจัดกิจกรรมและไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการที่หลากหลาย

 ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 ผู้เข้าร่วมโครงการ 100 คน ประกอบด้วย
                    คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและบุคลากร                                      จำนวน  8  คน
                    นิสิตหลักสูตรการจัดการบัณฑิต
                   (ภาคปกติรุ่นที่ 2)                                                                      จำนวน  92  คน

5.2 ผลการประเมินค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการจากแบบสอบถาม มีคะแนนอยู่ในระดับ....... จากคะแนน เต็ม 5 คะแนน
5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักเกณฑ์การคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยในส่วนของการแปลความหมายจากมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (บุญชุม ศรีสะอาด.2545) ดังนี้   

                             4.50 - 5.00      หมายถึง          ดีมาก
                             3.50 - 4.49      หมายถึง          ดี
                             2.50 - 3.49      หมายถึง          พอใช้
                             1.50 - 2.49      หมายถึง          น้อย
                             1.00 - 1.49      หมายถึง          น้อยมาก

สรุปผลการการประเมิน โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและเรียนรู้จากสถานประกอบการจริง กิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 7 มกราคม 2566 ณ คุ้มไทรงาม โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท และ Cocoro-Cake เค้กจำปาดะขนุนเกาะยอ ของฝากจากสงขลา  นิสิตหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 92 คน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61) ด้านที่ได้อันดับที่หนึ่งคือ ด้านการนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย = 4.74) ด้านที่ได้อันดับที่สอง คือ ด้านความพึงพอใจต่อวิทยากรที่ให้ความรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.60) ด้านที่ได้อันดับสาม คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ (ค่าเฉลี่ย = 4.59) อันดับที่สี่ คือ ด้านความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย = 4.52)

          ทั้งนี้จากตารางสามารถสรุปได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและเรียนรู้จากสถานประกอบการจริง มีความพึงพอใจ ด้านการนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์ ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะและองค์ความรู้ที่หลากหลาย นิสิตได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการร่วมกับผู้ประกอบการ ก่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะและองค์ความรู้ที่หลากหลาย เสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่เป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ในการดำเนินธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุค เป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ระหว่างผู้ประกอบการ  คณาจารย์กับนิสิตหลักสูตรการจัดการบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะของนิสิตที่เข้าร่วมโครงการเสนอให้มีการดำเนินโครงการในลักษณะการเรียนรู้จริงในสถานประกอบการในทุกปีการศึกษาและในสถานประกอบการที่มีความหลากหลาย



เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น
ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล