ประวัติความเป็นมา

 

ลักษณะองค์กร (Organizational Description)

                 วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2549 มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตั้งอยู่เลขที่ 140 หมู่ที่ 4 ชั้น 3  อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และหน่วยประสานงานวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา กรุงเทพมหานคร เลขที่ 128/157 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท  เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 เป็นองค์กรที่เทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทักษิณ บริหารโดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ของวิทยาลัยเองทั้งหมด ในการก่อตั้งวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาในตอนแรกดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวิชาการเฉพาะกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานในองค์กรภายใต้ความร่วมมือ อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงกลาโหม และต่อมาได้ขยายการศึกษาในกลุ่มอื่น ๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นกำลังพลเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตบนพื้นฐานการบูรณาการศาสตร์ในด้านการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรมและด้านการจัดการ เพื่อการพัฒนาที่มีคุณภาพ มีอัตลักษณ์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน

ปรัชญา
          “ปัญญา จริยธรรม นำการจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

วิสัยทัศน์
          วิทยาลัยเด่นระดับชาติด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาด้วยนวัตกรรมสังคม
          A National Prominent College in Management for Development Based on Social Innovation

ปณิธาน
          วิทยาลัยจัดการตนเองเพื่อสังคม (Self-Management College for All)

คติพจน์
          การศึกษาเคลื่อนเรามาใกล้กัน (Education Move Us Closer)

พันธกิจ
       1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้านการจัดการด้วยสมรรถนะนวัตกรรม
       2. สร้างผลงานวิจัยด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
       3. บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน
       4. แปลงทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นนวัตกรรมสังคม เพื่อการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน

ค่านิยม (Values)
        T = Teamwork (ทำงานเป็นทีม)
        E = Excellence (มีความเป็นเลิศทางวิชาการ)
        A = Acceleration (สารเร่งพลังบริการสังคม)
        M = Management for Development (จัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

สมรรถนะหลัก (Core competencies)
       วิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญในการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาร่วมกับชุมชนและสังคม

วัฒนธรรมองค์กร UMDC Culture 
       U = Unity มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
       M = Merit ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
       D = Democracy เสมอภาคและเป็นประชาธิปไตย
       C = Change พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลง

แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีงบประมาณพ.ศ. 2567-2570
        ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการสร้างสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมสังคมและการเป็นผู้ประกอบการ
        ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
        ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขัน
        ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนานวัตกรรมสังคมบนฐานศิลปะ วัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสืบสานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
        ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนามหาวิทยาลัยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติบนฐานท้องถิ่น (University of Glocalization)
        ยุทธศาสตร์ที่ 6 มีระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

แผนกลยุทธ์วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา ปีงบประมาณพ.ศ. 2567-2570
        
หมุดหมายที่ 1 ยูเอ็มเป็นวิทยาลัยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนด้านการจัดการด้วยสมรรถนะนวัตกรรมสังคมและการเป็นพลเมือง
                            1. เป้าหมายตามหมุดหมาย
                                เป้าหมายที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
                                เป้าหมายที่ 2 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะนวัตกรรมสังคมและการเป็นพลเมือง
                            2. แนวทางการพัฒนาตามกลยุทธ์
                                กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะที่หลากหลายเพื่อสร้างนวัตกรรมสังคม 
                                กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากลไกการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบไม่มุ่งปริญญา (Non-Degree Program) เพื่อ Reskills, Upskills, Newskills, Cross-Skills และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
                                กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) และระบบธนาคารหน่วยกิต (Higher Education Credit Bank)
                                กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์เพื่อการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                                กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนานิสิตให้เป็น Glocal Citizenship และการร่วมสร้างสังคมประกอบการ
                                กลยุทธ์ที่ 6 การสนับสนุนการเรียนรู้ในสถานการณ์วิกฤตสุขภาพและอื่น ๆ

        หมุดหมายที่ 2 สร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                            1. เป้าหมายหมุดหมาย
                                เป้าหมายที่ 1 องค์ความรู้ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                                เป้าหมายที่ 2 เพิ่มผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่/อ้างอิงในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
                            2. แนวทางการพัฒนาตามกลยุทธ์
                                กลยุทธ์ที่ 1 ขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนา นักวิจัยตามยุทธศาสตร์
                                กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพนักวิจัยและทักษะความสามารถนักวิจัยเพื่อนวัตกรรมและนวัตกรรมสังคม
                                กลยุทธ์ที่ 3 สร้างระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยที่มีศักยภาพรองรับการนวัตกรรม สังคม ขีดความสามารถด้านการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน
                                กลยุทธ์ที่ 4 ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่/อ้างอิงในระดับชาติและนานาชาติ
                                กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานสากล

        หมุดหมายที่ 3 บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างขีดความ สามารถด้านการแข่งขัน
                           1. เป้าหมายตามหมุดหมาย
                               เป้าหมาย 1 บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขัน
                               เป้าหมาย 2 บริการวิชาการโดยการถ่ายทอดความรู้ และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้
                               เป้าหมาย 3 สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากศิลปะ วัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับ สุนทรียศาสตร์แก่สังคมและการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจจากศิลปะฯ
                            2. แนวทางการพัฒนาตามกลยุทธ์
                                กลยุทธ์ที่ 1 การต่อยอดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                                กลยุทธ์ที่ 2 ระบบส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจและการประกอบการ (Business Entrepreneur Shift Support and Training: TSU-BEST)
                                กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาอาจารย์/นักวิจัยที่มีทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรม และ Upskills, Reskills, New skills, Cross-Skills แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
                                กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
                                กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบและกลไกความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้าง นวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
                                กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนางานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานบริการวิชาการ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาเพื่อสร้างคุณค่า มูลค่าและนวัตกรรมสังคมทางวัฒนธรรม

        หมุดหมายที่ 4 พัฒนาวิทยาลัยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติบนฐานท้องถิ่น (University of Glocalization)
                            1. เป้าหมายตามหมุดหมาย
                                เป้าหมาย 1 เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
                                เป้าหมาย 2 เติบโตอย่างยั่งยืนในทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติบนฐานความเป็นท้องถิ่น
                            2. แนวทางการพัฒนาตามกลยุทธ์
                                กลยุทธ์ที่ 1 จัดระบบ กลไก และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนทุกพันธกิจให้เป็นสากล เพื่อรองรับการ ก้าวสู่นานาชาติความเป็นสากลบนฐานท้องถิ่น
                                กลยุทธ์ที่ 2 ขับเคลื่อนวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ

        หมุดหมายที่ 5 มีระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศ
                            1. เป้าหมายตามหมุดหมาย
                                เป้าหมายที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน
                                เป้าหมายที่ 2 พัฒนาระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานทางการบริหาร
                            2. แนวทางการพัฒนาตามกลยุทธ์
                                กลยุทธ์ที่ 1 บุคลากรมีทัศนคติที่ดีและภูมิใจในการเป็นสมาชิกของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
                                กลยุทธ์ที่ 2 ปรับโครงสร้างและการบริหารองค์กรให้มีสมรรถนะรองรับการขับเคลื่อนวิทยาลัย ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ
                                กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างความมั่นคงทางการเงินและการบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ
                                กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบคุณภาพวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพ
                                กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการสื่อสารองค์กรให้ทั่วถึงและสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของวิทยาลัย
                                กลยุทธ์ที่ 6 การสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใส